Date
Breast Cancer Ribbon

---8 ชนเผ่าชาวราชบุรี

posted by:
NokNok

สายสัมพันธ์ 8 เชื้อชาติในราชบุรี

ประชากรในจังหวัดราชบุรีมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์อันเป็นลักษณะเด่นของจังหวัดที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิประเทศที่เสริมให้เมืองราชบุรีเป็นอู่รวมทางวัฒธรรม เป็นเมืองที่ผู้คนทั้งจากดินแดนโพ้นทะเลและชาวพื้นเมืองอีกหลายกลุ่มที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดนระหว่างไทย และประเทศสหภาพพม่าอพยพเข้ามาตั้งรกรากเมืองราชบุรีจึงประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ แต่ละเชื้อชาติมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและประเพณี ประชากรของจังหวัดราชบุรีเท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน แบ่งตามสายเชื้อชาติได้ดังนี้ คนไทยภาคกลางพื้นถิ่น ชาวไทยจีน ชาวไท–ยวน ชาวไทยมอญ ชาวไทยกระเหรี่ยง ชาวไทยลาวโซ่ง ชาวไทยลาวตี้ และชาวไทยเขมร
1. คนไทยภาคกลางพื้นถิ่น
คนไทยภาคกลางพื้นถิ่นที่จังหวัดราชบุรีเห็นเด่นชัดที่ชุมชนบ้านโพหัก ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ คนที่รู้จักโพหักรวมทั้งคนโพหักดั้งเดิม ต่างยอมรับว่า คนโพหักเป็นไทยแท้ สังเกตได้จากสำเนียงภาษาที่แปลกว่าท้องถิ่นอื่นในจังหวัดราชบุรี เช่น ใช้คำนำหน้าชื่อผู้หญิง “ออ” อาทิ ออแดง ออนุ่น เป็นต้น บางคนกล่าวว่าคำเหล่านี้เป็นคำไทยแท้แต่โบราณ
2.ชาวไทยจีน
ชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นกลุ่มชนที่มีบทบาททางเศรษฐกิจต่อเมืองราชบุรีอย่างมาก G.Williaw Skinner ผู้ศึกษาเรื่องราวของชาวจันในประเทศไทยระบุว่าใน พ.ศ.๒๔๕๐ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นช่วงที่ชาวจีนอพยพเข้ามายังดินแดนประเทศไทยมากที่สุด ชาวจีนที่อพยพเข้ามาสารถแยกออกเป็น ๕ กลุ่มตามสำเนียงการพูด ได้แก่ ชาวจีนกลุ่มแต้จิ๋ว จีนแคะ ไหหลำ กวางตุ้ง และฮกเกี้ยน ชาวจีนเหล่านี้กระจายกันอยู่ในเขตอำเภอเมืองราชบุรี อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอบ้านโป่ง และอำเภอโพธาราม
3.ชาวไท – ยวน
ชาวยวนมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางแถบอาณาจักรล้านนา ดินแดนทางตอนเหนือของประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้มีพระราชบัญชาให้กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ กองทัพเมืองเวียงจันทน์ พร้อมด้วยกองทัพเมืองล้านา ยกขึ้นไปตีเมืองเชียงแสนใน พ.ศ.๒๓๔๗ ขณะนั้นเมืองเชียงแสนถูกพม่ายึดไว้ เมื่อยึดเมืองเชียงแสนได้และไล่ตีทัพพม่าแตกไปแล้วกองทัพจากกรุงเทพฯ ก็ได้รื้อกำแพงเผาบ้านเมืองแล้วกวาดครัวชาวเมืองราง ๒๓,๐๐๐ คนเศษ อพยพลงมาทางใต้ แบ่งครัวออก เป็น ๕ ส่วนหนึ่งให้อยู่ที่เชียงใหม่ ส่วนที่สองอยู่ที่เมืองนครลำปาง ส่วนที่สามอยู่ที่เมืองน่าน ส่วนที่สี่อยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ ส่วนสุดท้ายพาลงมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สระบุรีบ้าง ราชบุรีบ้าง
ชาวยวนที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองราชบุรีนั้น พากันตั้งบ้านเรือนบริเวณริมฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง ห่างจากเมืองราชบุรีปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๒ กิโลเมตร เรียกว่าบ้านไร่นที ต่อมามีการขยายครัวเรือนออกไปจากที่เดิมอีกหลายพื้นที่ อาทิ ตำบลคูบัว ตำบลดอนตะโก ตำบลดอนแร่ ฯลฯ อำเภอเมืองราชบุรี ตำบลหนองโพ ตำบลบางกระโด ฯลฯ อำโพธาราม และตำบลหนองปลาหมอ เป็นต้น
4.ชาวไทยมอญ
ชาวมอญอพยพเข้าสู่ประเทศไทย มีหลักฐานปรากฏครั้งแรงเมื่อ พ.ศ.๒๑๒๗ หลักจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพเมืองแคลง ครั้งนั้นพระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาเกียรติ พระยารามได้พาสมัครพรรคพวกชาวมอญตามเสด็จกลับมากรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นก็มีการอพยพต่อมาอีกหลายครั้งให้สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ ชาวมอญในจังหวัดราชบุรีตั้งถิ่นฐานบริเวณสองฝั่งแม่น้ำ แม่กลองในเขตอำเภอโพธารามและอำเภอบ้านโป่ง
5.ชาวไทยกะเหรี่ยง
ชาวไทยกะเหรี่ยงในจังหวัดราชบุรีตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายแดนใกล้เทือกเขาตะนาวศรี มีผู้สันนิษฐานว่ากะเหรี่ยงกลุ่มราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ น่าจะอพยพโยกย้ายมาจากเมืองทวายในพม่า ชาวกะเหรี่ยงรุ่นเก่าที่อยู่ในตำบลสวนผึ้งเล่าต่อกันมาว่าราว ๒๐๐ ปีเศษผ่านมาแล้ว ได้ถูกพม่ารุกรานจึงพากันอพยพข้ามเทือกเขาตะนาวศรีเข้าชายแดนไทยทางอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แล้วแยกย้ายกันไปอยู่ที่จังหวัดราชบุรีอพยพมาอยู่ที่บ้านเก่ากะเหรี่ยงและบ้านหนองกะเหรี่ยง (บ้านหนองนกกระเรียน) แล้วโยกย้ายต่อมาทางตะวันตกจนถึงลำน้ำภาชี ตั้งบ้านเรือนอยู่ในอำเภอสวนผึ้ง และกิ่งอำเภอบ้านคาส่วนอีกสายแยกลงไปทางใต้ถึงต้นน้ำเพชรบุรี
กะเหรี่ยงที่อยู่ในอำเภอสวนผึ้งและกิ่งอำเภอบ้านคา กระจายอยู่ในตำบลสวนผึ้ง ตำบลบ้านบึง ตำบลบ้านคา และตำบลตะนาวศรี นอกจากนี้ยังอยู่ที่ตำบลยางหักอำเภอปากท่ออีกด้วย
6.ชาวไทยลาวโซ่ง
ชาวลาวโซ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างญวนกันอาณาจักรหลวงพระบาท ซึ่งทำสงคราม รุกรานกันอยู่เป็นประจำชาวลาวโซ่งจึงต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อหนีภัยสงคราม บางกลุ่มโยกย้ายไปอยู่ในถิ่นญวน บางกลุ่มย้ายเข้าไปอยู่ในอาณาจักรหลวงพระบาท ทั้งไปเองโดยสมัครใจและถูกกวาดต้อนไป รวมทั้งการอพยพเขามายังดินแดนประเทศไทยด้วย
ลาวโซ่งที่เข้ามายังประเทศไทยในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตาสินมหาราชโปรดให้ตั้งบ้านเรื่อนอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้โปรดให้ชาวลาวโซ่งที่อพยพเข้ามาใหม่ตั้งหลักแหล่งที่บ้านหนองปรงอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ภายหลังเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ชาวลาวโซ่งจึงพากันอพยพโยกย้ายไปตั้งหลักแหล่งในพื้นที่ใกล้เคียงและขยายออกไป ส่วนหนึ่งเข้ามาตั้งหลักแหล่งในจังหวัดราชบุรี ที่บ้านตลาดควาย อำเภอจอมบึง บ้าดอนคลัง บ้านบัวงาน บ้านโคกตับเป็ด อำเภอดำเนินสะดวก บ้านดอนคา บ้านตากแดด บ้านดอนพรม อำเภอบางแพ และที่บ้านเขาภูทอง อำเภอปากท่อ
7.ชาวไทยลาวตี้
ชาวลาวตี้หรือชาวไทยลาวเวียน เป้นกลุ่มคนที่มีเชื้อสายลาวจากเมืองเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองราชบุรีตั้งแต่สมัยธนบุรีเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์โดยตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ห่างจากฝั่งแม่น้ำแม่กลองด้านทิศตะวันออกราว ๒ กิโลเมตร ที่เขาแร้ง อำเภอเมืองราชบุรี บ้านฆ้อง บ้านบ่อมะกรูด บ้านเลือก บ้านสิงห์ บ้านกำแพงเหนือ บ้านกำแพงใต้ บ้านดอนทราย บ้านหนองรี บ้านบางลาน ในอำเภอโพธาราม บ้านดอนเสลา บ้านหนองปลาดุก บ้านหนองอ้อ บ้านฆ้องน้อย ในอำเภอบ้านโป่ง นอกจากนี้ยังมีอีกกลุ่มที่อำเภอจอมบึง ในเขตบ้านนาสมอ บ้านสูงเนิน บ้านทำเนียบ บ้านเกาะ บ้านหนอง บ้านเก่า บ้านวังมะเดื่อ เป็นต้น

8.ชาวไทยเขมร
ชาวเขมรลาวเดิมเป็นชื่อเรียนประชากรกลุ่มหนึ่งของจังหวัดราชบุรีที่ไม่มีเอกสารหลักฐานใดๆ กล่าวถึงถิ่นกำเนิดเดิมและสาเหตุของการอพยพครัวเข้าอยู่ในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากคำบอกจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บางคนว่า ถูกกวาดต้อนมาจากทางเหนือปัจจุบันชาวเขมรลาวเดิมตั้งบ้านเรือนกระจายในหลายท้องที่ของจังหวัด ได้แก่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลคุ้มกระถิน และตำบลคุ้งน้ำวน เขตอำเภอเมืองราชบุรี อำเภอปากท่อ ที่ตำบลวัดยางงาน หมู่ ๓ บ้านกอไผ่ ตำบลบ่อกระดาน ที่บ้านบ่อตะคร้อ บ้านหัวถนน และบางส่วนของตำบลดอนทราย ที่หมู่บ้านหนองจอก อำเภอวัดเพลง ที่ตำบลวัดเพลงบริเวณวัดศรัทธาราษฎร์บ้านบางนางสูญ ตำบลเกาะศาลพระ ที่บ้านคลองขนอน คลองพะเนาว์ บ้านโคกพริก อำเภอบางแพ ที่ตำบลหัวโพ บ้านดอนมะขามเทศ ตำบลวังเย็น ที่บ้านเตาอิฐ บ้านหนองม่วง ตำบลวัดแก้ว ที่บ้านเสาธง บ้านทำนบ ตำบลบางแพ ที่บ้านท่าราบ ฯลฯ

Many thank : http://www.goratchaburi.com/index.asp?catid=4&contentID=10000004&getarticle=58&title=%CA%D2%C2%CA%D1%C1%BE%D1%B9%B8%EC+8+%E0%AA%D7%E9%CD%AA%D2%B5%D4%E3%B9%C3%D2%AA%BA%D8%C3%D5http://www.goratchaburi.com/index.asp?catid=4&contentID=10000004&getarticle=58&title=%CA%D2%C2%CA%D1%C1%BE%D1%B9%B8%EC+8+%E0%AA%D7%E9%CD%AA%D2%B5%D4%E3%B9%C3%D2%AA%BA%D8%C3%D5     ค้นหาข้อมูลเมื่อวันที่ 3/02/2011

hr

Leave a Reply